วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 แก่นักวิจัย ม.ธรรมศาสตร์

Last updated: 19 เม.ย 2564  |  2784 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 แก่นักวิจัย ม.ธรรมศาสตร์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)จัดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 (ครั้งที่ 5)” เชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้ วช. ได้มีการเปิดตัว 1 นักวิจัย ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ แห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ซึ่งในวันนี้ วช. ได้มีการเปิดตัว 1 นักวิจัย ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ แห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564

ศ.ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ กล่าวว่า แนวทางในการนำงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับสังคม ควรขึ้นอยู่กับความเชื่อและการยอมรับของผู้นำไปใช้ด้วย โดยต้องถูกต้อง ตรงตามหลักคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งต้องมีการนำมาอ้างอิงกับศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและถูกนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน
ด้านครอบครัว และการทำงาน โดยทางพระพุทธศาสนาให้ยึดถือหลักทางสายกลาง ซึ่งตรงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 อันหมายถึงความพอดี พอเพียง ในทุก ๆ ด้าน

โดยเน้นย้ำว่า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการค้นหาแนวทางแก้ไขและพัฒนา คือ ต้องใช้สติปัญญา และความเมตตากรุณา เพราะในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน ค่อนข้างต้องเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และการใช้ความรุนแรง ทั้งนี้หากสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ได้ จะสามารถช่วยให้ประเทศของเรามีความสมดุลและมีความสงบสุขมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน อีกทั้งยังฝากข้อแนะนำแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ ถึงการทำงานด้านการวิจัยในมุมมองของอาจารย์ว่า งานวิจัยควรจะต้องปราศจากอคติ และค้นคว้าหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้แก่สังคม เพื่อให้งานวิจัยถูกหยิบยกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้