Last updated: 18 ม.ค. 2566 | 253 จำนวนผู้เข้าชม |
บ่ายวันที่ 12 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมด้วยรองผู้ว่าการ ททท. แถลงการขับเคลื่อน “ปีท่องเที่ยวไทย 2566” และ “Visit Thailand Year 2023 : Amazing New Chapters” เดินหน้าส่งมอบคุณค่าและความหมายของการท่องเที่ยวไทย (Meaningful Travel) ผ่าน Soft Power และการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ตอกย้ำกลยุทธ์ยกระดับห่วงโซ่อุปทาน (Shape Supply) สร้างมาตรฐานสู่ความยั่งยืน พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดี ตั้งธงเป้ารายได้ปี 2566 ถึง 2.38 ล้านล้านบาท โดยได้รับเกียรติจากนายโชติ ตราชู ประธานกรรมการ ททท. เป็นประธานเปิดงานฯ และ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมงานฯ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า จากความสำเร็จของการท่องเที่ยวในปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 11.8 ล้านคน ขณะที่ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยอยู่ที่ 189 ล้านคน-ครั้ง ถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่สูงกว่าเป้าหมาย สะท้อนสัญญาณบวกของการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งการกลับมาของการท่องเที่ยวไทยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2566 ถือเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของ ททท. ที่จะต้องตีโจทย์การ “ฟื้นคืน” เศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวอย่างเข้มข้น สู่เป้าหมายภาพรวมรายได้กลับมาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของปี 2562 ททท. จึงได้ดำเนินการการส่งเสริม “ปีท่องเที่ยวไทย 2566” สำหรับตลาดในประเทศ และ “Visit Thailand Year 2023 : Amazing New Chapters” สำหรับตลาดต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องจากปี 2565 เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้มั่นใจว่าการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวตามเป้าหมายทั้งในแง่รายได้และการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ ก้าวสู่การเป็น High Value and Sustainable Tourism โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับห่วงโซ่อุปทาน (Shape Supply) สอดรับการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวอย่าง Soft Power (5F : Food Festival Film Fight Fashion) ควบคู่กับการสร้างมาตรฐานความยั่งยืน เพื่อส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวเหนือระดับ สร้าง Meaningful Travel ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความหมายอย่างหลายใจ ได้แก่ ใจรักษ์ - สำนึกดีต่อชุมชน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ประทับใจ – ต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากสินค้าและบริการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และ มีใจ – กลับมาเยี่ยมเยือนอีกเมื่อมีโอกาส
“ปีท่องเที่ยวไทย 2566” ททท. มุ่งเน้นขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน โดยแปลงโจทย์ยุทธศาสตร์ แนวคิด BCG Model ชูไฮไลท์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) From Policy Lab to Real Product ด้วยการวิเคราะห์สกัดต้นแบบการทำงานที่เป็น Best Practice Model จาก “Policy Lab” สู่การนำเสนออาหารอินทรีย์ ด้วยแง่มุมของความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สู่ Inclusive Business และ Smart Organic Farmer นำคืนต้นทุนในแง่รายได้กลับคืนมา เพื่อปลายทางแห่งความยั่งยืน พร้อมมุ่งหน้าเดินเกมรุกนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยว ก้าวสู่ Smart Tourism ด้วย Digital as Game Changer สร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมิติใหม่ เจาะกลุ่มผู้ถือครอง Digital Asset ผ่านโครงการ TAT NFTs นำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวสู่ศิลปะดิจิทัล และ Metaverse โลกเสมือน พร้อมขับเคลื่อนแนวคิด 3I กล่าวคือ Intelligence สนับสนุนการใช้ Big DATA และเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัล, Innovation พัฒนานวัตกรรม Travel Tech และ Investment ลงทุนพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้งกลุ่ม Startup, venture capital , Cloud funding และกองทุนต่าง ๆ
สำหรับสินค้าทางการท่องเที่ยวจะเน้นการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความหมายในคอนเซปต์ Amazing 5F and more นำเสนอการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เชื่อมโยง Soft Power of Thailand และยกระดับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวให้รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดใหม่ (New Area) และกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ (New Segment) โดยเฉพาะการส่งเสริมการท่องเที่ยวมูลค่าสูง Health & Wellness โดยมีหัวใจสำคัญ คือการผนึกกำลังพันธมิตรสร้างมาตรฐานความปลอดภัย Safety and Sustainability ใน 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการเจ้าบ้านที่ดี New Chapters ซีซัน 2 , โครงการ SHA และ Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 เพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ส่วนของการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยว ททท. กำหนดกลยุทธ์ Value Over Volume ให้น้ำหนักสัดส่วนเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยตลาดในประเทศ จะมุ่งพลิกโฉมไทยเที่ยวไทย สร้างตำนานการเดินทางท่องเที่ยวบทใหม่ที่จะเป็น ไทยเที่ยวไทย Limited Edition อันน่าประทับใจและบอกต่อได้ ชูจุดแข็งสู่จุดขาย ของ Soft Power (5F) ด้วยเมนูประสบการณ์มิติใหม่ที่มีความหลากหลาย และบูรณาการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคประชาชน ให้คนไทยร่วมเที่ยวไทยไปพร้อมกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากทั่วโลก ด้วยบิ๊กโปรเจกต์กระตุ้นการท่องเที่ยว อาทิ โครงการ 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทย เที่ยวได้ทุกวัน โครงการ 100 เดียว เที่ยวได้งาน โครงการ Vijit Thailand 2023 โครงการ Amazing Thailand Festival Experience 2023 โครงการมหกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทย เป็นต้น
สำหรับตลาดต่างประเทศ ในส่วนตลาดระยะใกล้ เดินหน้า The Great Resumption Episode II ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ 5 Approaches ประกอบด้วย 1) China is Back ให้การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนเป็นปฐมบทครั้งใหม่ในเชิงคุณภาพบนพื้นฐานความปลอดภัย โดยโฟกัสนักท่องเที่ยว Segment ใหม่ๆ เร่งฟื้นจำนวนที่นั่งสายการบิน รวมถึงส่งเสริมการเดินทาง Overland ในทุกช่องทาง 2) 7 Digits Target โฟกัสตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง ได้แก่ จีน มาเลเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้ 3) Color Your Life by Amazing Thailand เสนอแบรนด์ Amazing Thailand เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งและใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว (Slice of Life) ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ทั้งรูปแบบ On Ground และ Virtual 4) Responsible Tourism สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง RT/CSR ผ่านโครงการ Reborn the Nature และ 5) 2 Tier, Second to None เพิ่มโอกาสทางการตลาดขยายพื้นที่เป้าหมายไปยังเมืองรองของประเทศไทย และขยายตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ (First Visit) ในเมืองรองของประเทศต่างๆ อาทิ เกาหลี จีน อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย
ขณะที่ตลาดระยะไกล พลิกฟื้นสถานการณ์ด้วยกลยุทธ์ A B C D Fast Forward ประกอบด้วย A-Airline focus เน้นการดำเนินงานร่วมกับสายการบิน เพื่อขับเคลื่อนเส้นทางบินตรงใหม่ เพิ่มความถี่ของเที่ยวบินตรง รวมทั้งร่วมกับสายการบินหลักในตะวันออกกลางอย่าง Emirates, Qatar Airway, Etihad และ Oman Air อย่างต่อเนื่อง B – Big Cities and Beyond ขยายโอกาสทางการตลาดไปยังพื้นที่ต้นทางใหม่ ๆ
ทั้งเมืองหลักและเมืองรอง เช่น กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย และกรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย เป็นต้น
C –Collaboration is Key ร่วมมือกับพันธมิตรรายใหม่ที่โดดเด่นในพื้นที่ตลาด เช่น สายการบิน Delta , Air Canada, FlyDubai, Aeroflot Online Travel Agency -Almosafer , SAGA Holidays และ D – Destination for All ให้ประเทศไทยเป็น All Year-Round Destination ที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวทุกกลุ่มและทุกช่วงเวลา ทั้งกลุ่ม Family หรือกลุ่ม Medical and Wellness ในยุโรปและตะวันออกกลาง หรือกลุ่ม LGBTQ ในตลาดยุโรป และอเมริกา
สำหรับการสื่อสารการตลาดจะนำเสนอคำตอบของการเดินทาง How to Meaningful Travel มุ่งกระตุ้นการเดินทาง พร้อมนำเสนอภาพจำใหม่ของการท่องเที่ยวไทยที่ทรงคุณค่าและยั่งยืน ด้วยแคมเปญ “Moment ที่ใช่ สร้างได้ ไม่ต้องรอ” สำหรับตลาดในประเทศ โดยสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวด้วยมุมมองที่แตกต่างให้พบเจอกับ Moment ที่จะเติมเต็มความสุข เติมเต็มประสบการณ์ที่หายไปให้กลับมาอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอ ส่วนตลาดต่างประเทศนำเสนอผ่านแคมเปญ “ Amazing New Chapters” เสนอคุณค่าการท่องเที่ยวไทยมุมมองใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ เติมไฟ เติมความหมายบทใหม่ของชีวิต ผ่านสินค้า Soft Power รวมทั้งการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยภายใต้แบรนด์ Amazing Thailand ให้แข็งแกร่ง ก้าวสู่การเป็น Responsible Tourism Destination ต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้พร้อมรองรับการทำงานภายใต้สถานการณ์ต่างๆ และเดินหน้าเคียงข้างภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ (Ready to Collaboration) ททท. มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กรผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การทำงานลักษณะ Hybrid การให้ความสำคัญต่อสุขภาพของพนักงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งสร้างความตระหนักถึงความรู้ด้านกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของสังคมยุคปัจจุบัน
ผู้ว่าการ ททท. กล่าวในตอนท้ายว่า “ปีท่องเที่ยวไทย 2566” นี้จะสำเร็จไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงคนไทยทุกคนที่จะต้องร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดี ร่วมกันทำด้วยใจ Heart-crafted ดูแลต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากทั่วทุกมุมโลก เสมือนญาติมิตรและแขกของประเทศไทย ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 2566 ให้กลับมาในอัตราร้อยละ 80 ของปี 2562 คาดว่าจะมีรายได้รวมสูงสุดอยู่ที่ 2.38 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 25 ล้านคน และปีท่องเที่ยวไทย 2566 นี้ จะทำให้มั่นใจได้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economic Security) ให้กับประเทศและคนไทยอย่างยั่งยืนต่อไป (Ensuring tourism as economic security) พร้อมสร้างความสมดุลให้กับสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป