Last updated: 19 ส.ค. 2565 | 303 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น” ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัย เพาะเห็ดไมคอร์ไรซ่าร่วมกับการปลูกต้นไม้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช มุ่งสู่การสร้างต้นแบบป่าครัวเรือน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจความสำคัญของการปลูกไม้มีค่าตามนโยบายของรัฐบาล “ขยายผลชุมชนไม้มีค่าเพื่อเกษตรกรไทย” และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับประชาชน วช. จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย “โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราชรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติ” ภายใต้ แผนงานวิจัย “โครงการส่งเสริมพื้นที่สงวนชีวมณฑลสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชให้เป็นแหล่งเรียนรู้และวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับนานาชาติและการขับเคลื่อนนโยบาย BCG” ผลสำเร็จจากการศึกษาวิจัย ทำให้ได้เทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซ่าร่วมกับการปลูกต้นไม้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช แข็งแรง สมบูรณ์ มากกว่าพืชที่ไม่ได้ใส่เชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า 2-3 เท่า สร้างความสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศของป่าต้นแบบนิเวศป่ากินได้ เป็นป่าเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้นแบบสำหรับการสร้างป่าครัวเรือน เพื่อเป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ วว. ประสบผลสำเร็จในการนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกไม้เศรษฐกิจมาแล้วในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักให้สังคมได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมกับการสร้างแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ในด้านการปลูกป่าพร้อมเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า วช. และ วว. จึงร่วมจัดกิจกรรม“ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น”
ร่วมกับ วว. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราชรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการปลูกป่าพรรณไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า ไม้แดง ผสมเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า ที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและลดอัตราการตาย อีกทั้งยังมีผลพลอยได้เป็นเห็ดป่ากินได้แก่ชุมชนรารู้แห่งใหม่ในด้านการปลูกป่าพร้อมเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่า สร้างงานและสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน