วช.พาสื่อลงพื้นที่ท่อทองแดง เยี่ยมชมเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำทำเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิผล

Last updated: 13 มี.ค. 2564  |  430 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วช.พาสื่อลงพื้นที่ท่อทองแดง เยี่ยมชมเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำทำเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิผล

วช.นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบปฎิบัติการบริหารจัดการน้ำเกษตรกรรมเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำต้นทุนที่เหมาะสม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง สำนักงานชลประทานที่ 4 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ.กำแพงเพชร  โดยมี ผศ.ภานุวัฒน์ ปิ่นทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจาก วช.ในการทำวิจัยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ บริหารจัดการน้ำเกษตรกรรมเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำในต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดงลงพื้นที่ชมระบบปฏิบัติการน้ำแบบอัตโนมัติและจุดตรวจวัดระดับน้ำประตูรับน้ำท่อทองแดง แจงความคืบหน้า  

ผศ.ภานุวัฒน์ ปิ่นทอง เปิดเผยว่า “ปัญหาในการบริหารจัดการน้ำเกี่ยวข้องกับ ทรัพยากร เศรษฐกิจ สังคม  อาชีพ ความเป็นอยู่ และรายได้ของประเทศ  โครงการนี้ถือว่ามีความสำคัญมากในการทำเกษตรกรรม เพราะมีพื้นที่ชลประทานมากกว่า 5 แสนไร่ แต่เนื่องจากในระบบชลประทานกว่า 50000 ไร่ถ้าจะพัฒนาเต็มรูปแบบต้องใช้งบประมาณมหาศาลมาก ในขณะที่พื้นที่อื่นก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาเช่นเดียวกันดังนั้น การจะพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่หรือพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ต้นน้ำเพื่อสร้างแหล่งเก็บกักขนาดใหญ่ อาจจะทำได้ยาก ดังนั้นเราใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ในการที่จะเข้ามาบูรณาการสิ่งที่เรามีกับสิ่งที่เราเป็นและวิถีชีวิตของเกษตรกรให้ผนวกเข้าด้วยกันโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โครงการนี้เราพัฒนาเครื่องมือขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ ตามความต้องการ ส่งน้ำตามการใช้จริง  เมื่อแผนในการใช้น้ำกับแผนส่งน้ำตรงกันน้ำก็จะไม่สูญเสีย โดยเราได้เชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือเทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีในการติดตามน้ำ เทคโนโลยีในการคาดการน้ำเข้าด้วยกันเพื่อประมวลผลในการส่งน้ำไปในพื้นที่นั้นๆได้อย่างแม่นยำ โดยมีการจัดแบ่งกลุ่ม 20 โซนในการควบคุมแต่ละพื้นที่ น้ำเข้าจุดไหน น้ำออกจุดไหน เพื่อให้เกษตรกรปรับรูปแบบการเพาะปลูกให้สัมพันธ์กับการส่งน้ำ โดยมีระบบตรวจวัดน้ำทุกระยะตามที่วางแผนเอาไว้ มีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ของเกษตรกรเพื่อให้สอดสัมพันธ์กับการทำงานของเจ้าหน้าที่โครงการส่งน้ำซึ่งเป็นการแปลงผลที่ได้จากงานวิจัยไปทำงานได้อย่างแท้จริง ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ทุกท่านในโครงการได้ลงพื้นที่ไปขยายผลโครงการวิจัยนี้ว่าเรามีเครื่องมือนี้อยู่แล้วเกษตรกรจะได้อะไรก็ไปเสริมสร้างความเข้าใจเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาทำให้สู่การยอมรับและพัฒนาร่วมกันจะลดการขัดแย้งลงเพราะเห็นข้อมูลตัวเดียวกัน โดยติดตั้งเครื่องวัดความชื้นไว้ที่แปลงนา แปลงอ้อย มันสำปะหลัง เป็นตัวแทนของเกษตรกรที่จะเป็นตัวบอกกับทางโครงการว่าขาดแคลนน้ำรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแผนที่ ก็จะเห็นเลยว่าพื้นที่ไหนวิกฤต  จะส่งน้ำอย่างไร จากคลองสายหลัก ในการติดตั้งอุปกรณ์วัดสถานะเกษตรกรรม ได้ติดตั้งตัววัดระดับน้ำเข้ามาด้วย เรามีประตูรับน้ำเพื่อเข้าสู่คลองธรรมชาติ และฝันน้ำไปสู่คลองสายย่อยๆ หากมีการกันดาลน้ำขึ้น เราคำนวณว่าเกษตรปลูกพืชกี่ไรก็จะย้อนกลับมาที่ต้นคลองว่าต้องเปิดน้ำเท่าไหร่จึงจะนำไปสู่น้ำพื้นที่ท้ายๆได้ จึงเป็นการเข้าสู่ยุคดิจิตอลเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เกษตรจะได้ค่าความชื้นในทุกวัน ขณะเดียวกันเรามีการติดตั้งระบบเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติ จะช่วยให้เปิดปิดได้ 24 ชม จากที่มีคนเปิดปิดก็สามารถบริหารผ่านมือถือโครงการนี้เป็นโครงการแรกที่ใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีมาเต็มรูปแบบสามารถเปิดปิดประตูน้ำสั่งการผ่านมือถือได้ งานวิจัยจะสำเร็จยั่งยืนได้เมื่อผู้ปฏิบัติงาน เอาไปใช้ต่อ พอทางวช.ได้ส่งมอบงานวิจัยให้กรมชลทาง

ผอ.ก็ตั้งชุดขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อมาดูว่าจะจัดตารางยังไง ซึ่งระบบควบคุมการเปิด-ปิดบานอัตโนมัต เรามีระบบป้องกันโดยการส่งรหัสเข้าโอทีพี ว่าต้องยกกี่บาน ยกกี่เซนต์ คำนวณแล้วเป็นปริมาณน้ำเท่าไหร่ การติดตามระดับน้ำด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเซนเซอร์ การดูแลรักษาต่อชิ้นต่อจุดถูกกว่าระบบเดิมเยอะมาก อะไหล่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปแผงโซล่าเซลล์ ปัจจุบันเราประกอบเข้าด้วยกันไม่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศอะไหล่ก็ถูกมากพอเสียก็เปลี่ยนได้ ซ่อมได้ง่ายมาก  มีการทำงานร่วมกับกรมชลประทานในการติดตั้งเสาทุกต้นตู้อุปกรณ์เจ้าหน้าที่ของโครงการดำเนินการร่วมด้วยทุกครั้ง สามารถทำเองได้ในอนาคต  เพราะเราร่วมกันพัฒนาขึ้นมา ตัวเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นการใช้ซิมสื่อสารเซนเซอร์วัดความชื้นในดินส่งผ่านมายังสมองกลแผงเก็บข้อมูล โดยใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์และแบตเตอร์รี่และส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อเก็บข้อมูลเป็นรายวันทุก 6 โมงเย็นปริมาณความชื้นในที่นานิ่ง พัฒนาระบบควบคุมและคาดการล่วงหน้าได้ 14 วันรู้ว่าในอีก 14 วันพืชต้องการน้ำเท่าไหร่  จำลองการใช้น้ำได้ทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะรู้สถานะว่ามีปริมาณน้ำเหลือเท่าไหร่  โครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง เราติดควบคุมน้ำ 2 จุดครอบคลุมพื้นที่ 60%  ความชื่นในดินถ้าสีฟ้าเพียงพอ สีเหลือง-เขียวต้องเตือนภัย การเรียนรู้ที่จะอยู่กับเทคโนโลยีก็ประหยัด เขาเห็นข้อมูลก็เชื่อ ยอมรับและเข้าสู่การร่วมมือ  ระบบบริหารจัดการน้ำ เป็นแผนที่แสดงความชุ่มชื้นของดินในการทำเกษตรกรรม ต่อไปเกษตรกรไม่ต้องกังวล เพราะวางแผนได้ล่วงหน้า โดยจะส่งน้ำตามโซน 120 จุดที่ติดเครื่องวัดความชื้น จากเดิม ก็ไล่ให้ไปติดปลายนา แต่เมื่อเขาเข้าใจก็ให้มาติดใกล้ๆ ดูแลได้ดีขึ้น เมื่อเกษตรให้ความร่วมมือการทำงานก็ราบรื่น ติดในแปลงข้าว แปลงอ้อย มันสำปะหลัง และพืชไร่มะนาว และสมุนไพรต่างๆ ก็มี เพื่อที่จะได้รู้พฤติกรรมการใช้น้ำ โดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ เฉพาะข้าวอย่างเดียวโครงการนี้ประหยัดไป 20%   ซึ่งจะมีการประชุมกันเจ้าหน้าที่และนักวิจัยและส่งข้อมูลการเพาะปลูกจะทำการคำนวณล่วงหน้า 2 สัปดาห์ว่าน้ำที่ส่งพอไหม ซึ่งเป็นการวางแผนร่วมกัน ซึ่งพฤติกรรมงดการใช้น้ำแต่ทำไมมีการใช้น้ำ เห็นตัวเลขการใช้น้ำตลอด ก็ดูจากค่าความชื้นเป็นหลัก ซึ่งมีในกลุ่มไลน์ 120 คนซึ่งชาวบ้านก็ช่วยดูแลอุปกรณ์เขาใส่ใจกับข้อมูลที่มีอยู่ เราก้าวมา 1 ก้าวทุกคนยอมรับเป็นมิติใหม่ในการบริหารจัดการน้ำโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ”

 


ผอ.สุทธิชัย ไพรสัน ผู้อำนวยการเปิดเผยว่า  “โครงการส่งน้ำท่อทองแดงเป็นโครงการพระราชดำริในรัชกาลที่ 9  ทรงดำริไว้เมื่อมกราคม 2521  โครงการพื้นที่ท่อทองแดงมีพื้นที่ 555688 ไร่ มีพื้นที่รับผิดชอบ 2 จังหวัด กำแพงเพชร 4 อำเภอ พื้นที่ 4 แสนกว่าไร่  จ.สุโขทัย 2 อำเภอ  การเกษตรเป็นข้าว อ้อย และ พืชไร่  พืชผัก มันสำปะหลัง คลองส่วนใหญ่เป็นคลองธรรมชาติเป็นคลองดินยาว 584 กม. ยาวมาก  มีปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำส่งน้ำ คือน้ำต้นทุนเราใช้น้ำต้นทุนจากเขื่อนภูมิพล มีจังหวัดที่รับน้ำ 22 จังหวัด เราไม่สามารถใช้น้ำโดยพละการได้ ต้องขอโกต้าน้ำที่ได้รับมาไม่เพียงพอ พื้นที่ความต้องการเยอะแต่ได้น้ำมาไม่พอ คลองธรรมชาติมีสิ่งกีดขวางทางน้ำเยอะ การส่งน้ำในแต่ละสายคลองสายหลักใช้เวลานาน  การติดตามไม่ทั่วถึงเราจึงจำเป็นจะต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มประสิทธิภาพลดต้นทุนการใช้น้ำอย่างเหมาะสม”

สมเกรียติ อุปการะ หัวหน้าฝ่ายเปิดเผยว่า “การใช้เทคโนโลยีตัวนี้ทำให้เกษตรกรมีความเข้าใจมากขึ้น การทะเลาะเรื่องการแย่งน้ำลดลง สามารถติดตามระดับน้ำจากแม่น้ำปิงและคลองสายหลัก และรู้ว่าน้ำที่ส่งไปถึงเป้าหมายหรือไม่ สามารถดูได้จากมอนิเตอร์ รู้ได้ว่าจุดไหนเกษตรกรแอบมาเปิด-ปิดบานประตูน้ำ เจ้าหน้าที่สามารถไปแก้ไขได้ทันท่วงที ที่สำคัญเครื่องมือตัวนี้เราสามารถดูพื้นที่กว่า 5 แสนไร่ได้ทันที โดยตอนนี้ติดตั้งไปแล้ว 120 จุดครอบคลุมใน 5  เขตพื้นที่”

พร้อมกันนี้ยังพาสื่อไปเยี่ยมชมพื้นที่จุดตรวจวัดความชื้นดินที่ติดตั้งไว้ในแปลงนา ต.สระแก้ว อ.เมืองกำแพงเพชร โดยชาวบ้านในละแวกนั้นเปิดเผยว่า

“รู้ว่าเครื่องที่มาติดตั้งนี้คือที่วัดความชื้นดิน ดินมีความชื้นจะดีมาก ถ้ามีน้ำจะไม่มีหนู แต่ถ้าดินแห้งหนูจะมากัดข้าวในนาทำให้เสียหาย เห็นเจ้าหน้าที่เขาหมั่นมาตรวจดูเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่เขาก็ประชุมให้ความรู้บ่อยๆ ว่าน้ำเยอะน้ำน้อย สมควรทำเกษตร ไม่สมควรทำเขาก็บอก เราเป็นเกษตรกรรุ่นเก่าก็ต้องให้ความร่วมมือ ถ้าเขาไม่ให้ทำก็ไม่ทำจะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องน้ำ มีน้ำเขาปล่อยให้เราอยู่แล้ว รู้สึกว่าทันสมัยดี  ไม่ต้องรอฟังวิทยุ  รอดูพยาการณ์อากาศว่าน้ำจะมาถึงเราไหม ตอนนี้เขาแจ้งทางกลุ่มไลน์ ไม่ต้องรอแล้ว ก็ขอบคุณมาก”



 

 

 

    


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้